วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่
ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เป็น
พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิด
ราชวรมหาวิหาร
ประวัติองค์พระปฐมเจดีย์ พระปฐมเจดีย์ หรือเดิมเรียกว่า
พระธมเจดีย์ มีฐานะเป็น
มหาธาตุหลวง ของแผ่นดิน
สุวรรณภูมิ ทั้งนี้
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมี
พระราชวินิจฉัยว่า
พระธมเจดีย์องค์นี้ อาจเป็นเจดีย์ที่สร้างขึ้น เมื่อคราวที่
พระสมณทูต ใน
พระเจ้าอโศกมหาราช เดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังสุวรรณภูมิ ก็เป็นได้ เพราะพระเจดีย์เดิม มีลักษณะ
ทรงโอคว่ำ หรือ
ทรงมะนาวผ่าซีก แบบเดียวกับ
พระสถูปสาญจี แต่ปรากฏว่ามียอดเป็นแบบ
ปรางค์ ซึ่งพระองค์ฯ ทรงมีพระราชวินิจฉัยว่า อาจมีเจ้านายพระองค์ใดมาบูรณะไว้ก็เป็นได้ ซึ่งตรงกับความใน
ศิลาจารึกหลักที่ 2 (
ศิลาจารึกวัดศรีชุม) ของ
พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ อันได้กล่าวไว้ว่า พระมหาเถรศรีศรัทธาฯ ท่านทรงได้แวะมา
บูรณะพระธมเจดีย์องค์นี้ ก่อนที่ท่านจะเดินทางกลับ
เมืองราด เมื่อคราวที่ท่านเสด็จกลับจากศึกษา
พระพุทธศาสนาที่
ลังกา ทั้งนี้
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระราชทานนามใหม่ว่า
พระปฐมเจดีย์ ด้วยทรงเชื่อ ว่านี่คือเจดีย์แห่งแรกของสุวรรณภูมิ นั่นเอง
ในเรื่องนี้
นักประวัติศาสตร์ และ
นักโบราณคดีบางท่าน ได้ระบุว่า พระปฐมเจดีย์ไม่ได้เป็นเจดีย์ที่เก่าที่สุดของสุวรรณภูมิ แต่เป็น พระมหาธาตุหลวง ในยุค
ทวารวดี มากกว่า เนื่องด้วยเหตุผลประกอบหลายประการ โดยเฉพาะ การค้นพบเจดีย์ ที่มีอายุเก่าแก่กว่าพระธมเจดีย์ และหลักฐานลายลักษณ์อักษร ที่ระบุว่า " พระเจดีย์องค์นี้ เดิม
ขอมเรียก พระธม " ซึ่งไม่ว่าจะเป็นชาวขอมจริงๆ หรือชาวลวรัฐ ซึ่งสมัยนั้นเราก็เรียกว่าขอม เช่น
ขอมสบาดโขลญลำพง คำว่า
ธม สำหรับ
ชาวขอมนั้น แปลว่า
ใหญ่ ตรงกับ
คำเมืองว่า
หลวง ซึ่งเราก็เรียกพระ
นครธม ว่า
พระนครหลวง ด้วยเหตุผลเดียวกัน
นอกจากนี้
พระบรมราชสรีรางคาร รัชกาลที่ 6 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว บรรจุที่ฐาน
พระร่วงโรจนฤทธิ์ พระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม และฐาน
พระพุทธชินสีห์ วัดบวรนิเวศวิหาร ตามที่มีพระบรมราชโองการสั่งไว้ในพระราช
พินัยกรรม ต่อมา ใน
พุทธศักราช 2529 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เชิญพระ
อังคารของ
พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวีใน
รัชกาลที่ 6 ไปบรรจุไว้เคียงข้าง
พระบรมราชสรีรางคารรัชกาลที่ 6 ที่
ใต้ฐานพระร่วงโรจนฤทธิ์