วันอังคารที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๐


คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) หรือชื่อภาษาอังกฤษ "The National Counter Corruption Commission" เป็นคณะบุคคลซึ่งประกอบด้วยประธานกรรมการคนหนึ่งและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีก 8 คน ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามคำแนะนำของวุฒิสภา ผู้ได้รับการเสนอชื่อและได้รับเลือกเป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติต้องเป็นผู้ซึ่งมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 256 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 9-11
การสรรหาและการเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติให้นำบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 257 และมาตรา 258 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ทั้งนี้ โดยให้มีคณะกรรมการสรรหากรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจำนวน 15 คน ประกอบด้วยประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครองสูงสุด อธิการบดีของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐที่เป็นนิติบุคคลทุกแห่ง ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ 7 คน ผู้แทนพรรคการเมืองทุกพรรคที่มีสมาชิกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคละ 1 คน ซึ่งเลือกกันเองให้เหลือ 5 คน เป็นกรรมการ

อำนาจหน้าที่คณะกรรมการ

ป.ป.ช. รายชื่อคณะกรรมการ และเลขาธิการ
ประธานกรรมการ นายโอภาส อรุณินท์
กรรมการ
เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. - นายกล้านรงค์ จันทิก

พันโท กมล ประจวบเหมาะ
นายเกริกเกียรติ พิพัฒน์เสรีธรรม
นายณัฏฐ์ ศรีวิหค
นายประสิทธิ์ ดำรงชัย
คุณหญิงปรียา เกษมสันต์ ณ อยุธยา
นางฤดี จิวาลักษณ์
นายวิรัตน์ วัฒนศิริธรรม
พลโท สวัสดิ์ ออรุ่งโรจน์

ไม่มีความคิดเห็น: