วันศุกร์ที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


รังสีแกมมา (Gamma Ray) คือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่ง ที่มีช่วงความยาวคลื่นสั้นกว่ารังสีเอกซ์ (X-Ray) ที่มีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 10 นั่นเอง การที่ความยาวคลื่นสั้นนั้น ย่อมหมายถึงความถี่ที่สูง และพลังงานที่สูงตามไปด้วย ดังนั้นรังสีแกมมาถือเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูงที่สุดในบรรดาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดต่าง ๆ ที่เหลือทั้งหมด

รังสีแกมมา รังสีแกมมากับปฏิกิริยานิวเคลียร์
ในปัจจุบันถึงแม้ว่ารังสีแกมมาจะไม่เป็นที่รู้จักและใช้งานอย่างแพร่หลายทั่วไปในปัจจุบัน เหมือนอย่างคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดอื่น ๆ ที่คนทั่วไปมักรู้จักกันดี เช่น คลื่นวิทยุ คลื่นไมโครเวฟ หรือแม้แต่รังสีเอกซ์ ที่มีความคล้ายคลึงกับรังสีแกมมาที่สุดแล้ว เนื่องจากการใช้ประโยชน์ของรังสีแกมมา ไม่ค่อยได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้คนเท่าไร ส่วนใหญ่มักจะใช้ในงานวิจัยและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย แต่คุณสมบัติพิเศษของมันในเรื่องของพลังงานที่สูงกว่าคลื่นชนิดอื่น ๆ จึงทำให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ในงานต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

รังสีแกมมา เทคโนโลยีสายพันธุ์ (Genetic Technology)
เหตุการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นบนเอกภพเช่นการชนกันของดาวหรือหลุมดำ การระเบิดจะก่อให้เกิดรังสีแกมมาที่มีพลังงานสูงมากเดินทางข้ามอวกาศมายังโลกของเรา เนื่องจากชั้นบรรยากาศจะกรองเอารังสีแกมมาจากอวกาศออกไปจนหมดสิ้น รังสีแกมมาเหล่านั้นจึงไม่สามารถทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลกนี้ได้ แต่ก็ทำให้การศึกษารังสีแกมมาที่เกิดจากเหตุการณ์บนอวกาศไม่สามารถทำได้เช่นกัน จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษารังสีแกมมาที่มาจากอวกาศเหนือชั้นบรรยากาศเท่านั้น ดังนั้นกล้องโทรทัศน์รังสีแกมมาจำเป็นที่จะต้องติดตั้งอยู่บนดาวเทียมเท่านั้น

วันพฤหัสบดีที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

อำเภอไม้แก่น
อำเภอไม้แก่นเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดปัตตานี

ที่ตั้ง

เชื้อชาติ ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายู และชาวไทย
ศาสนา ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม 98% ไทยพุทธ 1.98% และอื่นๆ 0.02%
อาชีพ ส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม ประมงชายฝั่ง และค้าขาย

วันอาทิตย์ที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

มหาศักราช
มหาศักราช (ม.ศ.) เป็นศักราชที่เริ่มเมื่อ พ.ศ. 621 (ค.ศ. 78) อาจเกี่ยวข้องกับปีครองราชย์ของพระเจ้ากนิษกะ (Kanishka) กษัตริย์ที่ปกครองอาณาจักรกุษาณะ (กุชาน หรือ กุษาณ) (Kushan Empire) ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย (เมืองหลวงของอาณาจักรนี้ปัจจุบันคือเมืองเปชะวาร์ในปากีสถาน) มหาศักราชแพร่เข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้จารึกต่าง ๆ ในสมัยสุโขทัยและอาณาจักรใกล้เคียง ต่างใช้มหาศักราชเป็นส่วนใหญ่ คาดว่าไทยเลิกใช้มหาศักราชในปี พ.ศ. 2112 โดยเปลี่ยนไปใช้จุลศักราชแทน อย่างไรก็ตามมีการใช้มหาศักราชอยู่บ้างหลังจากนั้น ดังปรากฏในจารึกวัดไชยวัฒนาราม (จังหวัดพระนครศรีอยุธยา)
การแปลงมหาศักราช เป็นพุทธศักราช ให้เอา 621 บวกปี มหาศักราชนั้น ก็ได้จะได้ปี พุทธศักราช

วันเสาร์ที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


ก็องดิด (Candide) นวนิยายแนวปรัชญา ของวอลแตร์ นักประพันธ์และนักปรัชญาชาวฝรั่งเศส เขาเริ่มเขียนปรัชญานิยาย (le conte philosophique) เรื่องนี้ในรูปแบบของร้อยแก้วในเชิงเสียดสีที่ใช้คำพูดที่มีความหมายขัดแย้งกันในปี ค.ศ. 1758 ซึ่งเขาอายุได้ 64 ปีแล้ว จึงอาจกล่าวได้ว่า "ก็องดิดด์" เป็นผลงานของบุคคลที่พร้อมด้วยวัยวุฒิและคุณวุฒิอย่างแท้จริง
ก่อนหน้านี้วอลแตร์เคยเขียนบทกวี บทละคร บทความเชิงปรัชญา หนังสือประวัติศาสตร์ และเป็นราชบัณฑิต เขามีประสบการณ์ชีวิตที่โชกโชน เคยติดคุก เคยถูกเนรเทศ เคยมีชื่อเสียงเกียรติยศแล้วกลับตกต่ำในราชสำนักปารีส ราชสำนักเบอร์ลิน ประสบการณ์ชีวิตที่ผกผัน การเดินทาง การได้เห็น ได้อ่าน ได้ศึกษามามากทำให้วอลแตร์ไม่อาจมองโลกในแง่ดีได้ เขาจึงเขียนผลงานชิ้นนี้ออกมาเพื่อแสดงความคิดเห็นของเขาลงไป โดยอาศัยนิยายเป็นสื่อกลางในการนำเสนอ นิทานปรัชญาเรื่องนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี ค.ศ. 1759 และตีพิมพ์อีกครั้งในปี ค.ศ. 1961 ซึ่งวอลแตร์ได้เพิ่มชื่อที่สองให้ก็องดิดด์ ว่า l'optimisme หรือลัทธิสุทรรศนิยม เพื่อเสียดสีบุคคลที่เชื่อตาม ไลบ์นิซ (Leibnitz) นักปราชญ์ชาวเยอรมันที่เชื่อว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างที่พระเจ้าประทานมาเป็นไปด้วยดี"

ก็องดิดด์ เรื่องย่อ
วอลแตร์แต่งปรัชญานิยายเรื่องก็องดิดด์ขึ้นโดยใช้รูปแบบร้อยแก้วเชิงเสียดสี ใช้เทคนิคการบรรยายแบบ 'l'ironie' ที่ใช้คำพูดที่มีความหมายขัดแย้งกันอย่างรุนแรงกับเนื้อเรื่องที่เกิดขึ้น

โครงสร้างของเรื่อง
เนื่องจากเนื้อหาเรื่องนี้เป็นการเดินทางของตัวละคร ที่เดินทางไปตามที่ต่าง ๆ ดังนั้นการดำเนินเรื่องจึงเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งในทวีปยุโรปไปจนถึงทวีปอเมริกาใต้ สถานที่ก็จะมีทั้งที่มีอยู่จริงและสถานที่ที่วอลแตร์จินตนาการขึ้นมา เช่น เมืองเอลโดราโดและเมืองอื่น ๆ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว
ในเรื่องนี้ วอลแตร์ได้กล่าวโจมตีเสียดสีสิ่งต่าง ๆ ไว้มากมาย เขาได้แสดงทัศนะทางสังคมออกมา ไม่เฉพาะแค่สังคมฝรั่งเศสเท่านั้น แต่รวมไปถึงสังคมยุโรปโดยทั่วไป โดยใช้รูปแบบการประชดประชัน เสียดสี วอลแตร์เสียดสีและต่อต้านความไม่เป็นธรรมต่าง ๆ และยังบรรยายให้เห็นภาพความตายอย่างชัดเจนที่เป็นผลมาจากการทำสงครามแย่งอาณานิคม นอกจากนี้วอลแตร์ยังประชดประชันทัศนะทางปรัชญาที่สอนให้คนมองโลกในแง่ดีอยู่ตลอดเวลาทั้ง ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง วอลแตร์ยังได้โจมตีสถาบันทางศาสนาในเรื่องความเชื่อที่งมงาย ไร้สาระ โจมตีพระที่ไม่มีคุณธรรมและจริยธรรม ในเรื่องความเชื่อ วอลแตร์เชื่อว่าพระเจ้าไม่มีเหตุผล ในด้านสังคมการเมือง เขาโจมตีชนชั้นขุนนางว่าไม่จริงใจ
ในบทสรุปของเนื้อเรื่อง วอลแตร์ได้เสนอคำพูดที่ว่า 'Il faut cultiver notre jardin' เพื่อแสดงทัศนะของเขาที่เรียกร้องให้ทุกคนทำงานและทำตัวเป็นประโยชน์ต่อสังคม เนื่องจากเขาต้องการสะท้อนให้เห็นเรื่องค่านิยมของคนในสมัยนั้นที่เชื่อว่าพวกชนชั้นสูง เช่น พวกขุนนาง และพระ ที่ไม่ต้องทำงาน เพราะจะเป็นการเสียเกียรติ โดยในที่นี้วอลแตร์ได้เสนอการทำกสิกรรม เนื่องจากเขาได้รับแนวความคิดมาจากพวกชาวบ้านที่ทำกสิกรรมอยู่บริเวณที่ใกล้กับที่ดินที่เขาได้ไปซื้อไว้ โดยที่เขาคิดว่าควรเริ่มจากครอบครัวซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสังคม เมื่อทุกคนทำงานแล้ว ผลแห่งการทำงานนั้นย่อมครอบคลุมไปยังหน่วยของสังคมที่ใหญ่ขึ้น เช่น หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ เป็นต้น และในอีกแง่หนึ่งที่วอลแตร์เสนอก็คือ ให้ทุกคนทำงานโดยไม่มัวแต่พร่ำเพ้ออ้างเหตุผลลอย ๆ ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถทำให้ชีวิตดำเนินต่อไปได้ เขาคิดว่ามนุษย์เกิดมาเพื่อกระทำมิใช่พูดหรือคอยใช้เหตุผลอย่างเดียว จากคำพูดนี้แสดงให้เห็นว่าวอลแตร์ไม่ได้มีความเชื่อในพระเจ้าเลย เขาเชื่อว่ามนุษย์ต่างหากที่เป็นผู้กำหนดทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตัวของตัวเอง

ตัวละครสำคัญ

  • ก็องดิดด์ - มีความหมายหลายนัย เช่น ซื่อ บริสุทธิ์ จริงใจ เปิดเผย อ่อนต่อโลก ความหมายหลายนัยนี้แสดงถึงอุปนิสัยของตัวละครเอก ดังนั้นความหมายหลายนัยของชื่อก็องดิดด์ ทำหน้าที่เชิงสัญลักษณ์แห่งความเชื่อง่ายของคนร่วมสมัยกับวอลแตร์ซึ่งเชื่อตามทฤษฎีสุทรรศนิยมของไลบ์นิซ ที่ว่า "ทุกสิ่งทุกอย่างที่พระเจ้าประทานมาเป็นไปด้วยดี" สิ่งนี้ทำให้วอลแตร์หัวเราะเยาะบุคคลที่เชื่อง่ายเหล่านั้น


    • อาจารย์ปองโกลศ – เป็นอาจารย์ที่สอนให้ก็องดิดด์และกุเนก็องด์มองโลกในแง่ดี ตามลัทธิสุทรรศนิยมของไลบ์นิซ ปองโกลศมองโลกในแง่ดีเสมอ ถึงแม้ว่าตัวเขาเองก็ได้พบกับความทุกข์และภัยพิบัติมากมาย


      • กุเนก็องด์ - เป็นลูกสาวของท่านบารอนรอนธุนแดร์-เตน-ทรองค์ เป็นหญิงงามที่ก็องดิดด์หลงรัก


        • มาร์แต็ง – เป็นนักปราชญ์ที่มีความคิดที่ตรงข้ามกับปองโกลศโดยสิ้นเชิง กล่าวคือมาร์แต็งเป็นคนที่สอนให้ก็องดิดด์มองโลกในแง่ร้าย ทำให้ก็องดิดด์ได้เรียนรู้อภิปรัชญาที่ตรงข้ามกับคำสอนของอาจารย์ปองโกลศ
          กะกอมโบ – เป็นคนรับใช้และเพื่อนผู้ซื่อสัตย์ของก็องดิดด์

วันศุกร์ที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

พระกษิติครรภมหาโพธิสัตว์
ในศาสนาพุทธนิกายมหายาน พระโพธิสัตว์กษิติครรภ์ เป็นพระโพธิสัตว์ที่ทรงได้รับการเคารพนับถือและมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อน ไปกว่าพระโพธิสัตว์อื่นๆ ทรงปรากฏชื่อในพระสูตรชื่อ "ตี่จั่งอ๊วงพู่สักบึ้งง่วนเก็ง" โดยแปลจากภาษาสันสกฤต พระสูตรนี้กล่าวถึงพระมหาปณิธานของพระองค์ท่าน โดยมีปณิธานดังนี้ คือ "ตราบใดที่นรกยังไม่สูญ คือ ไม่ว่างจากสัตว์นรก ตราบนั้นก็จะไม่ขอบรรลุพุทธภูมิ"
พระกษิติครรภ์โพธิสัตว์ ทรงโปรดสัตว์ในภพภูมิต่างๆ คือ มนุษย์ เทวดา อสูร เปรต และสัตว์เดรัจฉาน รวมทั้งสัตว์ในนรกภูมิ ทรงเต็มไปด้วยความเมตตา ทรงปฏิบัติพระองค์เพื่อช่วยสรรพสัตว์ทั้ง 6 เหล่า โดยทรงแผ่กุศลปัตติทานให้ อันเป็นผลกรรมนำสรรพสัตว์ไปสู่สุคติ ได้บรรลุมรรคผลไปแล้วมากมายเกินจะนับได้ ตลอดระยะเวลานานเป็นอสงไขยกับป์อันประมาณมิได้

วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ประวัติศาสตร์
ระบบรัฐสภา สภาเดี่ยว ประกอบด้วยสมาชิก 49 คน โดย 47 คน มาจากการเลือกตั้ง และผู้แทน 2 คนที่ได้รับการแต่งตั้งจากเผ่ามาไต (Matai) วาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี ประมุขรัฐ มาลีเอตัว ตานุมาฟิลิที่ 2ได้รับการแต่งตั้งเมื่อปี 2505 (ค.ศ. 1962) จากการสืบตระกูลและจะดำรงตำแหน่งประมุขตลอดชีพ อย่างไรก็ตาม ผู้สืบทอดตำแหน่งคนต่อไปจะมาจากการเลือกตั้งและจะดำรงตำแหน่งในวาระ 5 ปี ซามัวเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมืองมากที่สุดในแปซิฟิกใต้

ซามัว การเมือง
ซามัวแบ่งการปกครองเป็น 11 เขตคือ:

อาอานา (A'ana)
ไอกาอิเลไต (Aiga-i-le-Tai)
อาตูอา (Atua)
ฟาอะซาเลเลอากา (Fa'asaleleaga)
กากาเอเมากา (Gaga'emauga)
กาไกโฟเมากา (Gagaifomauga)
ปาเลาลี (Palauli)
ซาตูปาอิเตอา (Satupa'itea)
ตัวมาซากา (Tuamasaga)
วาอาโอโฟโนตี (Va'a-o-Fonoti)
ไวซิกาโน (Vaisigano) การแบ่งเขตการปกครอง
ซามัวตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอเมริกันซามัว ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตองกาและฟิจิ มีป่าไม้ค่อนข้างหนาแน่น ประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายโพลินีเชีย และบางส่วนเป็นเยอรมันและจีน ชาวซามัวจำนวนมากอพยพไปตั้งถิ่นฐานในต่างประเทศ โดยคาดว่ามีชาวซามัวในนิวซีแลนด์ประมาณ 120,000 คน และในออสเตรเลียประมาณ 40,000 คน

เศรษฐกิจ
ประชากรในซามัวนั้นประกอบด้วยชาวซามัวร้อยละ 92.6 (โพลินีเซียน) ยูโรนีเซียน (ยุโรป-โพลินีเซียน) ร้อยละ 7 และชาวยุโรปร้อยละ 0.4

วันพุธที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ประเทศสกอตแลนด์
สกอตแลนด์ (แกลิกสกอต: Alba ; อังกฤษ: Scotland) เป็นชาติทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปยุโรป และเป็นหนึ่งในชาติสมาชิกของสหราชอาณาจักร มีพื้นที่ครอบคลุมพื้นที่ 1 ใน 3 ทางตอนเหนือของเกาะบริเตนใหญ่ มีพรมแดนตอนใต้ร่วมกับอังกฤษ ด้านตะวันออกติดทะเลเหนือ ด้านตะวันตกติดมหาสมุทรแอตแลนติก เมืองหลวงคือเอดินบะระ เมืองที่มีประชากรมากที่สุดคือกลาสโกว์
ราชอาณาจักรสกอตแลนด์เป็นประเทศอิสระจนถึงวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1707 เมื่อ Act of Union 1707 มีผลให้รวมกับราชอาณาจักรอังกฤษ และกลายเป็นราชอาณาจักรบริเตนใหญ่
ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 17 ราวปี ค.ศ. 1740 - 1800 สกอตแลนด์มีความก้าวหน้ามากในเรื่องการศึกษาวิชาการ มีนักคิดและนักปรัชญาคนสำคัญเกิดขึ้นในช่วงเวลานี้มากมาย จนมีการเรียกขานช่วงเวลานี้ว่า Scottish Enlightenment (ยุครู้แจ้งของสกอตแลนด์) ตัวอย่างของนักคิดคนสำคัญในช่วงนี้ได้แก่ เดวิด ฮูม และแอดัม สมิท



วันอาทิตย์ที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


พุทธศักราช 912 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 369 - มีนาคม ค.ศ. 370
มหาศักราช 291 ค.ศ. 369 วันเกิด

วันเสาร์ที่ ๑๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

อำเภอเชียงแสน
วิกิพีเดียยังไม่มีบทความที่ตรงกับชื่อนี้
เริ่มบทความ หม่อมราชวงศ์สุจิตคุณ กิติย
ค้นหา หม่อมราชวงศ์สุจิตคุณ กิติย ในบทความอื่น ๆ
ดูบทความที่กล่าวถึง หม่อมราชวงศ์สุจิตคุณ กิติย
ถ้าคุณสร้างหน้านี้แล้วเมื่อไม่นานมานี้แต่มันยังไม่ปรากฏขึ้น เป็นไปได้ที่จะมีการล่าช้าในปรับปรุงฐานข้อมูล ลองล้างข้อมูลเก่าในเครื่อง หรือกรุณารอสักครู่และตรวจดูอีกครั้งก่อนที่ท่านจะลองสร้างหน้าใหม่
ถ้าคุณสร้างบทความชื่อเรื่องนี้ก่อนหน้านี้ มันอาจจะถูกลบไปแล้ว ดู ปูมการลบ และทำไมหน้าถึงโดนลบ
ถ้าต้องการถามคำถามเกี่ยวกับ หม่อมราชวงศ์สุจิตคุณ กิติย ให้ลองถามที่ ปุจฉา-วิสัชนา

วันศุกร์ที่ ๑๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

กีฬาแหลมทอง
กีฬาซีเกมส์ (Southeast Asian Games หรือ SEA Games) เป็นการแข่งขันกีฬาของกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 11 ประเทศ โดยจัดขึ้น 2 ปีต่อ 1 ครั้ง การแข่งขันดำเนินตามกฎข้อบังคับของสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Games Federation) โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee หรือ IOC) และสภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia)
แต่เดิมเรียกกีฬาซีเกมส์ว่า กีฬาแหลมทอง จนกระทั่งปี 2520 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น ซีเกมส์ เหมือนในปัจจุบัน

การจัดแข่งขัน

วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


พุทธศักราช 440 ใกล้เคียงกับ ก่อน ค.ศ. 104

พ.ศ. 440 วันเกิด

วันพุธที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

กรุป (คณิตศาสตร์)
ในคณิตศาสตร์, กรุป (group) คือ เซตกับการดำเนินการทวิภาค เช่น การคูณหรือการบวก ซึ่งสอดคล้องกับสัจพจน์ ตัวอย่างเช่น เซตของจำนวนเต็มเป็นกรุปภายใต้การดำเนินการการคูณ. สาขาของคณิตที่ศึกษาเกี่ยวกับกรุปเรียกว่า ทฤษฎีกรุป
ต้นกำเนิดของทฤษฎีกรุปนั้นย้อนกลับไปสู่ผลงานของเอวาริสต์ กาลัวส์ (พ.ศ. 2373) เกี่ยวกับปัญหาที่ว่าเมื่อใดสมการเชิงพีชคณิตจึงจะสามารถหาคำตอบได้จากราก ก่อนผลงานของเขาการศึกษากรุปเป็นไปอย่างเป็นรูปธรรม ในรูปแบบการเรียงสับเปลี่ยน หลักเกณฑ์บางข้อของอาบีเลียนกรุป อยู่ในทฤษฎีรูปแบบกำลังสอง
หลายสิ่งที่ศึกษากันในคณิตศาสตร์เป็นกรุป รวมไปถึงระบบจำนวนที่คุ้นเคย เช่น จำนวนเต็ม จำนวนตรรกยะ จำนวนจริง และจำนวนเชิงซ้อน ภายใต้การบวก เช่นเดียวกับจำนวนตรรกยะ จำนวนจริง และจำนวนเชิงซ้อนที่ไม่ใช่ศูนย์ ภายใต้การคูณ ตัวอย่างที่สำคัญอีกตัวอย่างหนึ่งคือ เมทริกซ์ไม่เอกฐาน ภายใต้การคูณ และฟังก์ชันที่หาฟังก์ชันผกผันได้ ภายใต้ การประกอบฟังก์ชัน ทฤษฎีกรุปรองรับคุณสมบัติของระบบเหล่านี้และระบบอื่นๆอีกมากมายในรูปแบบทั่วไป ผลลัพธ์ยังสามารถประยุกต์ได้หลากหลาย ทฤษฎีกรุปยังเต็มไปด้วยทฤษฎีบทในตัวมันเองอีกมากเช่นกัน
ภายใต้กรุปยังมีโครงสร้างเชิงพีชคณิตอีกมาก เช่นฟิลด์ และปริภูมิเวกเตอร์ กรุปยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการศึกษาสมมาตรในรูปแบบต่างๆ หลักการที่ว่า "สมมาตรของวัตถุใดๆก่อให้เกิดกรุป" เป็นหลักพื้นฐานของคณิตศาสตร์มากมาย ด้วยเหตุผลเหล่านี้ทฤษฎีกรุปจึงเป็นสาขาที่สำคัญในคณิตศาสตร์ยุดใหม่ และยังเป็นหนึ่งในบทประยุกต์ของ ฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ อีกด้วย (ตัวอย่างเช่น ฟิสิกส์อนุภาค)

วันอังคารที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

ค.ศ. 780
พุทธศักราช 1323 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 780 - มีนาคม ค.ศ. 781
มหาศักราช 702 วันเกิด

วันจันทร์ที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐


ชาวไทปายี่ สุยปายี่ หรือ ก้อปายี่ ชนกลุ่มนี้ หมอดอดด์ได้พบที่ลุ่มน้ำแดง ซึ่งปรากฏว่าเป็นชาวไทที่อยู่ในถิ่นที่อุดมสมบูรณ์มาก มีเมืองจีนที่เรียกว่า เยือน-เชียง-โจว แต่คนไทพื้นเมืองนี้เรียกว่าเมืองจุง ส่วนคำว่า "ปายี่" เป็นคำจีนที่เรียกคนไท ที่มีรกรากเดิมจากเมืองปา แปลว่า ชาวปาที่ป่าเถือน

วันอาทิตย์ที่ ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

สุกัญญา ชลศึกษ์
กฤษณา อโศกสิน นามปากกาที่แพร่หลายมากที่สุดของ สุกัญญา ชลศึกษ์ นักประพันธ์สตรีที่นับได้ว่าประสบความสำเร็จอย่างยอดเยี่ยมในด้านการประพันธ์นวนิยาย จนสามารถเรียกได้ว่าเธอคือ ราชินีนักเขียนนวนิยาย ก็คงจะไม่มีผู้ใดกล้าคัดค้าน
เธอได้รับการยกย่องว่าเป็นนักเขียนท่านหนึ่งที่พัฒนางานเขียนของตนเองอยู่ตลอดเวลา เนื้อหาของผลงานจะปรับเปลี่ยนไปตามสภาพสังคม จากจุดเริ่มต้นของงานเขียนในแนวรักใคร่ พัฒนามาสู่การหยิบยกปัญหาต่าง ๆ ในสังคมมาเขียนมากขึ้น จวบจนระยะเวลากว่า 50 ปีแล้วที่เธอได้สร้างสรรค์ผลงานออกมาอย่างต่อเนื่อง และยังคงก้าวตามความฝันต่อไปอย่างไม่ยอมหยุดยั้ง…จนมีผู้กล่าวไว้ว่าเส้นทางฝันของ กฤษณา อโศกสิน เพียงแค่จุดที่ยืนอยู่ในปัจจุบัน นักเขียนน้อยคนนักก็ยากที่จะก้าวมาถึงได้…
สุกัญญา ชลศึกษ์ เป็นศิษย์เก่าโรงเรียนราชินี เริ่มต้นการประพันธ์ด้วยวัยเพียง 15 ปี เธอมุ่งมั่นจะเป็นนักเขียน มีผลงานเรื่องสั้นเรื่องแรก 'ของขวัญปีใหม่' ลงในหนังสือ 'ไทยใหม่วันจันทร์' ในนามปากกาว่า 'กัญญ์ชลา' ประมาณปี 2489 หลังจากจบการศึกษา ได้เข้าทำงานเป็นเจ้าหน้าที่เสมียน กรมประมง กระทรวงเกษตรฯ รับเงินเดือน 450 บาท แต่ทว่ายังมุ่งมั่นที่จะเป็นนักเขียนต่อไป มีผลงานเรื่องสั้นลงตีพิมพ์ในนิตยสาร 'ศรีสัปดาห์' และทยอยลงตีพิมพ์ออกมาเรื่อย ๆ อย่างสม่ำเสมอไม่น้อยกว่าร้อยเรื่อง ในขณะที่นวนิยายของเธอก็เริ่มมีออกมา ไม่ว่าจะเป็น หยาดน้ำค้าง, ดอกหญ้า, ดวงตาสวรรค์ ในปี 2545 ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สำหรับนามปากกา 'กฤษณา อโศกสิน' นั้นเริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2501 ด้วยผลงานนวนิยายชื่อว่า 'วิหคที่หลงทาง' ตีพิมพ์ใน 'สตรีสาร' และได้รับการต้อนรับจากผู้อ่านเป็นอย่างดี เธอเคยกล่าวถึงที่มาของนามนี้ว่า "ชื่อนี้นี่ประหลาด มันแว่บขึ้นมาในสมอง ในขณะที่นั่งคิดว่าจะใช้นามปากกาอะไร...เกิดขึ้นมาโดยไม่ได้ตั้งใจ แปลออกมาได้ความว่า ไม้หอม ทรัพย์ที่ปราศจากทุกข์..." นามปากกานี้สร้างผลงานออกมาอย่างมากมาย เช่น น้ำผึ้งขม, ระฆังวงเดือน, ชลธีพิศวาส และอีกมากมายกว่าหนึ่งร้อยเรื่อง รวมทั้ง 'ปูนปิดทอง' ที่ทำให้เธอกลายเป็นนักเขียนรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมอาเซียน(ซีไรท์) ผลงานของกฤษณา อโศกสิน ได้รับการชื่นชมว่าเป็นงานเขียนกระเทาะเปลือกสังคมได้อย่างสะใจ ไม่ว่าจะเป็น ลานลูกไม้, ไฟทะเล, เสื้อสีฝุ่น, รอบรวงข้าว, เรือมนุษย์, ลมที่เปลี่ยนทาง, ฝันหลงฤดู, บุษบกใบไม้ ฯลฯ
ระหว่าง พ.ศ. 2510 - 2520 เป็นช่วง 10 ปีนั้นที่ สุกัญญา ชลศึกษ์ ทำงานมาก เขียนหลายแห่ง ส่วนมากเป็นรายสัปดาห์เช่น แม่ศรีเรือน, นพเก้า, ศรีสยาม, ดวงดาว เป็นรายสัปดาห์ทั้งนั้น เขียนวันละหนึ่งเรื่อง วันละหนึ่งตอนต่อหนึ่งเรื่อง
สุกัญญา ชลศึกษ์ ทำงาน9 โมงเช้าเหมือนกับเปิดออฟฟิศเลยค่ะ จนกระทั่งบางวันอาจจะเขียนจนถึง 6 โมงเย็นจึงจะเลิกงาน พอขึ้นข้างบนแล้วก็ต้องทำงานต่อ แต่จะเป็นงานตรวจต้นฉบับ
มีผลงานหลายเรื่องนำไปสร้างละครและภาพยนตร์มากมาย เช่น "เรือมนุษย์" "ดวงตาสวรรค์" ฝันกลางฤดุฝน" "น้ำผึ้งขม" เมียหลวง" "ไฟหนาว" "เสื้อสีฝุ่น" "ข้ามสีทันดร" "หน้าต่างบานแรก" "คาวน้ำค้าง" "เนื้อนาง" "ลายหงส์" "ปีกทอง" และก็เรื่อง "ปูนปิดทอง" "ห้องที่จัดไม่เสร็จ"

สุกัญญา ชลศึกษ์ นามปากกา กฤษณา อโศกสิน



  • ตะเกียงแก้ว
    ลานลูกไม้,
    ลายดอกไม้ร่วง
    สาปสวาท